เมนู

ปัจจนียนัย


การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ


[172] ในนอธิปติปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ ในนปุเรชาตปัจจัย มี 3
วาระ ฯลฯ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ.
สหชาตวาระก็ดี ฯลฯ สัมปยุตตวาระก็ดี พึงให้พิสดาร.

เหตุบทปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[173] 1. เหตุธรรมที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็น
ปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย มี 3 วาระ.

2. อารัมมณปัจจัย


[174] 1. เหตุธรรมที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็น
ปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย ฯลฯ

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[175] ในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 8 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 6 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 5 วาระ ในสมนันตรปัจจัย

มี 5 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ ใน
นิสสยปัจจัย มี 3 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 8 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี
3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 1 วาระ ในมัคค-
ปัจจัย มี 1 วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี 3 วาระ.

ปัจจนียนัย


การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ


[176] ในนเหตุปัจจัย มี 8 วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี 8 วาระ
ฯลฯ
1

อนุโลมปัจจนียนัย


[177] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัยมี 3 วาระ.... ฯลฯ

ปัจจนียานุโลมนัย


[178] เพราะเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี 8 วาระ... ฯลฯ
แม้ในปัญหาวาระในกุสลติกะฉันใด พึงให้พิสดารฉันนั้น.
1. เนื่องด้วยการนับจำนวนวาระในปัจจนียนัย, อนุโลมปัจจนียนัย และปัจจนียานุโลมนั้น
ท่านแสดงไว้โดยย่อพอเป็นแนวเท่านั้น เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้เป็นต้นไปจะไม่มีหัวข้อเรื่องแสดงการ
นับจำนวนวาระใน 3 นัยนี้ แต่พึงเข้าใจว่ามีอยู่ตามปกติ